Q & A ระบบถาม-ตอบ การประเมินผลปฏิบัติราชการ

คำถามที่พบบ่อย
1. การมอบหมายให้ไป ช่วยราชการ กับ การมอบหมายให้ไป ปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่นมีความหมายแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
1. การมอบหมายให้ไป ช่วยราชการ หมายถึง การสั่งราชการในลักษณะยืมตัวไปปฏิบัติงานในส่วนราชการอื่น (ต่างกรม) 2. การมอบหมายให้ไป ปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่น หมายถึง การมอบหมายใหข้าราชการไปปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัด หรือหน่วยงานอื่นภายในกรมเดียวกัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีมีคำสั่งแต่งตั้งใหรักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งในทุกกรณี ตาม ว 29/2553, ว 12 /2555
2. กรณีได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง จะมีวิธีในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและบริหารวงเงินการเลื่อนเงินเดือนอย่างไร
กรณีการแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งให้ประเมินผลการปฏิบัติราชการและบริหารวงเงินการเลื่อนเงินเดือนที่หน่วยงานต้นสังกัด ตาม ว 29/2553, ว 12 /2555
3. กรมฯ มีคำสั่งย้ายพัฒนาการอำเภอ ก่อนจะสิ้นรอบการประเมิน ข้าราชการการในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนั้นๆ จะรับการประเมินจากใคร
แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีที่จังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมา รกท.พัฒนาการอำเภอ 1.1 ข้าราชการ สังกัด สพอ. รับการประเมินจาก รกท.พัฒนาการอำเภอ ที่จังหวัดแต่งตั้ง 1.2 รกท.พัฒนาการอำเภอ รับการประเมินจากต้นสังกัด ตาม ว 29/2553, ว 12/2555 2. กรณีที่จังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนั้น ให้ รกท. พัฒนาการอำเภอ 2.1 ข้าราชการ สังกัด สพอ. รับการประเมินจาก รกท. พัฒนาการอำเภอที่มีคำสั่ง 2.2 รกท.พัฒนาการอำเภอ รับการประเมินจาก นอภ.
4. นาย A เป็นข้าราชการสังกัดกองการเจ้าหน้าที่ กรมการพัฒนาชุมชน ไปช่วยราชการ ในสังกัดสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เกินกว่ากึ่งหนึ่งของรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการนาย A จะได้รับการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติราชการและเลื่อนเงินเดือน โดยใช้หลักเกณฑ์ของกรมฯ หรือจังหวัดเชียงใหม่
กรณี นาย A จะได้รับการพิจารณาประเมินฯ และเลื่อนเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของจังหวัดเชียงใหม่ตาม ว 29/2553, ว 12 /2555
5. นาย B เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย ไปปฏิบัติราชการในสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เท่ากับกึ่งหนึ่ง (ปฏิบัติงานหน่วยงานละ 3 เดือน) ของรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานใดจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ผู้บังคับบัญชาของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลยประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยให้สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีส่งข้อมูลเพื่อประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตาม ว 29/2553, ว 12 /2555
6. นาย C เป็นข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อสิ้นรอบการประเมินนาย C ได้รับการประเมินอยู่ในระดับต้องปรับปรุง (ต่ำกว่าร้อยละ 60) ผู้บังคับบัญชาของนาย C จะมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร
ผู้บังคับบัญชาของนาย C ต้องดำเนินการตามประกาศกรมการพัฒนาชุมชน เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองกรณีข้าราชการไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561
7. คณะกรรมการกลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับกรม/จังหวัด สามารถแก้ไขคะแนนประเมินของข้าราชการได้หรือไม่
ไม่สามารถแก้ไขคะแนนได้ คณะกรรมการกลั่นกรองมีอำนาจในการพิจารณาความเป็นธรรมของผลการประเมินฯ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าผลประเมินไม่เป็นธรรม สามารถมีมติให้ผู้ประเมินทบทวนผลการประเมินได้ ตาม ว 20/2552
8. พัฒนาการอำเภอได้รับการประเมินจากนายอำเภอ เมื่อคณะทำงานกลั่นกรองฯ สพจ. พิจารณาแล้วเห็นว่าผลประเมินนั้นสูงกว่าผลงานที่เกิดขึ้นจริง จะสามารถแก้ไขคะแนนประเมินนั้นได้หรือไม่
คณะทำงานกลั่นกรองฯ ไม่สามารถแก้ไขคะแนนได้ เนื่องจากไม่มีอำนาจฯ แต่พัฒนาการจังหวัดสามารถทำได้ในฐานะของผู้บังคับบัญชาลำดับถัดไป ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติไว้ในมาตรา 55 ว่า ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าวในมาตรา 54 ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น